วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2561

Abstracts

1.
The System of Teacher Education Management in Great Britain
Chychuk, Antonina
Comparative Professional Pedagogy, v5 n4 p80-86 Dec 2015
The system of teacher education management, namely, forms and principles of teacher education management according to the normative base (Education Reform Act (1988); Education Act (1992; 1993; 1996; 1997; 2002); School Standards and Framework Act (1998); Higher Education Act (2004), etc.), monitoring and participation of the public in its management have been analyzed. It has been proved that lately the democratization process in British education management has been combined with the increased attention of the state to monitoring, requirements to appropriate activity of educational establishments and trends seem to be forward education quality enhancing, democratization of evaluation, monitoring and information providing processes. Changes in education management in the historical context have been considered. The organizations participating in education management in Great Britain have been outlined. The data has been presented that enabled to distinguish similarities and differences in the functioning of the organizations participating in education management in Great Britain and ensure the existing of independent management authorities within them.
De Gruyter Open. Available from: Walter de Gruyter, Inc. 121 High Street, Third Floor, Boston, MA 02110. Tel: 857-284-7073; Fax: 857-284-7358; e-mail: service@degruyter.com; Web site: http://www.degruyter.com
Publication Type: Journal Articles; Reports - Research
Education Level: N/A
Audience: N/A
Language: N/A
Sponsor: N/A
Authoring Institution: N/A
Identifiers - Location: United Kingdom (Great Britain); United Kingdom (England)
Identifiers - Laws, Policies, & Programs: Education Reform Act 1988 (England)

2.
Analysis of Challenges for Management Education in India Using Total Interpretive Structural Modelling
Mahajan, Ritika; Agrawal, Rajat; Sharma, Vinay; Nangia, Vinay
Quality Assurance in Education: An International Perspective, v24 n1 p95-122 2016
Purpose: The purpose of this paper is to identify challenges for management education in India and explain their nature, significance and interrelations using total interpretive structural modelling (TISM), an innovative version of Warfield's interpretive structural modelling (ISM). Design/methodology/approach: The challenges have been drawn from literature and validated by an empirical study conducted through questionnaires administered electronically and personally to 250 management graduates. TISM has been applied to 14 finalised factors. Findings: All the identified factors, except accreditation, were found to be important. Ineffective regulatory bodies and ineffective leadership emerged as the biggest roadblocks. Several significant interrelations were found which were sometimes not revealed by plain observation. Originality/value: The existing literature has discussed the challenges for management education but not their interrelations. This paper uses TISM to demonstrate the relationships between different challenges and to explain the logic behind the relationships. The results would be useful for the owners (or managers) of management institutes faced with the same challenges.
Publication Type: Journal Articles; Reports - Research
Education Level: Higher Education; Postsecondary Education
Audience: N/A
Language: English
Sponsor: N/A
Authoring Institution: N/A
Identifiers - Location: India


3.

Crisis Management for Secondary Education: A Survey of Secondary Education Directors in Greece

Savelides, Socrates; Mihiotis, Athanassios; Koutsoukis, Nikitas-Spiros
International Journal of Educational Management, v29 n1 p18-43 2015
Purpose: The Greek secondary education system lacks a formal crisis management system. The purpose of this paper is to address this problem as follows: elicit current crisis management practices, outline features for designing a formal crisis management system in Greece. Design/methodology/approach: The research is based on a survey conducted with the directors of secondary education and the interpretation of the survey results. Due to the echelon structure of secondary education the directors are experienced educators with plenty of experience. They are in a unique setting to be able to combine the managerial perspective with field experience, both of which are important for managing crises. Findings: First, events of sociopolitical nature are considered as important crisis triggers. Second, there is tendency to expect extended involvement of the state. Third despite the lack of a formal system, current practices are relevant and tend to mimic formal systems. Research limitations/implications: In practice the lack of a formal system does not impede crisis management to be applied in secondary education units. Originality/value: There is no other survey on crisis management at the directors' level that we are aware of. The findings outline existing practices from a tactical perspective, and can serve as a guide for designing a formal crisis management system that is suited for secondary education in Greece.
Emerald Group Publishing Limited. Howard House, Wagon Lane, Bingley, West Yorkshire, BD16 1WA, UK. Tel: +44-1274-777700; Fax: +44-1274-785201; e-mail: emerald@emeraldinsight.com; Web site: http://www.emeraldinsight.com
Publication Type: Journal Articles; Reports - Research; Tests/Questionnaires
Education Level: Secondary Education
Audience: N/A
Language: English
Sponsor: N/A
Authoring Institution: N/A
Identifiers - Location: Greece

4.
Time Management for Directors
Jaffe, Ellen Hofstetter
Exchange: The Early Childhood Leaders' Magazine Since 1978, n161 p8-11 Jan-Feb 2005
Time management is a skill. Like any new skill, it takes time and commitment to develop. A frequent complaint of center directors is not having enough time. Most work extremely long hours and still feel they are not getting enough done. This article presents ideas on how to manage time and work smarter, not harder. These ideas are the following: (1) taking stock--carefully examining expectations and others as related to time; (2) self-assessment; and (3) crisis management. Furthermore, this article discusses useful time management strategies. Such strategies include: (1) prioritization--spending the most time alloted doing what is most important; (2) organization of time; (3) creation of a master calendar; (4) organization of the work space; (4) wise use of technology; (5) planning for the unexpected; (6) delegatation of duties; (7) personalization of the approach to time management; and (8) refueling. Gradually taking more control of time will enable work to become more productive, less chaotic, and benefits can be seen with each change made. (Contains 3 additional resources.)
Exchange Press, Inc.. P.O. Box 3249, Redmond, WA 98073-3249. Tel: 800-221-2864; Fax: 425-867-5217; e-mail: info@ChildCareExchane.com; Web site: www.childcareexchange.com
Publication Type: Journal Articles; Reports - Descriptive
Education Level: Early Childhood Education
Audience: N/A
Language: English
Sponsor: N/A
Authoring Institution: N/A

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

รายชื่อวิทยานิพนธ์

Title
ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร
Title Alternative
Motivation factors affecting academic affairs performance among the school administrators under the jurisdiction ofthe office of samutsakhon provincial primary education

Organization : โรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร
Subject
Classification :.DDC: 372.120111
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับปัจจัยแรงจูงใจในการบริหารงานวิชาการและระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร (2) วิเคราะห์ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามทฤษฎี E.R.G. ของอัลเดอเฟอร์ (Alderfer,s existence relatedness growth theory) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานวิชาการและปัจจัยแรงจูงใจในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสาครในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นเดียวกัน 2. ปัจจัยแรงจูงใจในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ด้านความต้องการความก้าวหน้าและด้านความต้องการความสัมพันธ์ ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการโดยภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยมีน้ำหนักความสำคัญในรูปคะแนนมาตรฐานของปัจจัยแรงจูงใจ ด้านความต้องการความก้าวหน้าสูงสุด รองลงมาคือ ปัจจัยแรงจูงใจด้านความต้องการความสัมพันธ์ The purposes of this study were 1) to study the levels of the motivation factors affecting school administrators’ academic affairs performance and their academic affairs performance among the administrators of the schools under the jurisdiction of the Office of Samutsakhon Provincial Primary Education, and 2) to analyze the motivation factors affecting the school administrators’ academic affairs performance. The population are the administrators from 107 primary schools under the jurisdiction of the Office of Samutsakhon Provincial Primary Education. The research instrument was a constructed questionnaire, based on Alderfer’s existence relatedness growth theory, to investigate the motivation factors affecting the samples’ academic performance. The statistics used for the data analyses were arithmetic mean ( ), standard deviations (S.D.), and stepwise multiple regression analysis. The results were: 1) There were high levels of motivation factors affecting the school administrators’ academic affairs performance and their academic affairs performance. When considered individually, the school administrators’ motivation factors and their academic affairs performance were found at high levels in all aspects. 2) The analyses of the motivation factors showed that the school administrators’ needs for career progress and relation with connected people significantly affected their academic performance at .05 levels. The first weighed factor was the need for career progress, and the second weighed factor was the need for relation with connected people.

Title
ปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี
Title Alternative
FACTORS OF SCHOOL ADMINISTRATORS' LEADERSHIP AFFECTING JOB PERFORMANCE ACCORDING IN TO RELATIONSHIP BETWEEN SCHOOLS AND COMMUNITIES IN SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF SUPHAN BURI PROVINCIAL PRIMARY EDUCATION

Organization : โรงเรียนวัดคีรีเจริญผล จ.สุพรรณบุรี
Classification :.DDC: 371.2
Description
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหาร โรงเรียน เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของผู้บริหารโรงเรียน เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนระหว่างโรงเรียน ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เพื่อเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ระหว่างโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ และวิเคราะห์ปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมี 6 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านสติปัญญา ด้านบุคลิกภาพ ด้านความรับผิดชอบ ด้านฐานะสังคม และด้านการตัดสินใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ในโรงเรียนประถมศึกษารวม 414 คน จำแนกเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ 79 คน โรงเรียนขนาดกลาง 194 คน และโรงเรียนขนาดเล็ก 141 คน ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี ปีการศึกษา 2546 กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตามระดับชั้นอย่างเป็น สัดส่วนตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับประกอบด้วย คุณลักษณะความเป็นผู้นำซึ่งพัฒนาจากแนวคิดของ สต็อกดิลล์ จำนวน 30 ข้อ และ การปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ตามกรอบสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน 30 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับรวมเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ (frequencies) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณโดยวิธีแบบขั้นตอน (stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและเป็นรายด้าน และระดับคุณลักษณะความเป็น ผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน ได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่ไม่แตกต่างกัน 2. ระดับการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน ยกเว้น งานด้านการจัดตั้งกลุ่ม ชมรม สมาคม และมูลนิธิ อยู่ในระดับปานกลาง และระดับการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของผู้บริหารโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3. ปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวม คือ ด้านการตัดสินใจ และ ด้านฐานะทางสังคม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านการให้บริการชุมชนด้านต่าง ๆ และ งานด้านการได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากชุมชน คือ ด้านการตัดสินใจ และบุคลิกภาพ ส่วนปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านเกี่ยวกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน งานด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานอื่น งานจัดตั้งกลุ่ม ชมรม สมาคม และมูลนิธิ และงานด้านการประชาสัมพันธ์ คือ ด้านการตัดสินใจ และฐานะทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Title
การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษตามความคิดเห็นของครู
Title Alternative
A STUDY OF DESIRABLE CHARACTERISTICS OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE BUREAU OF SPECIAL EDUCATION ADMINISTRATION AS PERCEIVED BY TEACHERS

Organization : ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 6 จ.ลพบุรี
Subject
Classification :.DDC: 373.11
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณลักษณะในสภาพปัจจุบัน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามความคิดเห็นของครู จำนวน 333 คน โดยในโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และ โรงเรียนที่สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นอย่างเป็น สัดส่วน ส่วนในโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น และโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย (แขน-ขา) ใช้ครูทุกคนเป็นผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิดกำหนดค่าคำตอบเป็นข้อความ 5 ระดับ จำนวน 78 ข้อ โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t – test ผลการวิจัย พบว่า คุณลักษณะในสภาพปัจจุบันของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามความคิดเห็นของครู อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับ คือ ด้านส่วนตัวและครอบครัว ด้านวิชาการ ด้านปฏิบัติงานการศึกษาพิเศษ ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร ด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านภาวะผู้นำ และด้านมนุษยสัมพันธ์ ส่วนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงตามลำดับ คือ ด้านส่วนตัวและครอบครัว ด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านปฏิบัติงานการศึกษาพิเศษ ด้านวิชาการ ด้านภาวะผู้นำ ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร และด้านมนุษยสัมพันธ์ ส่วนผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะในสภาพปัจจุบัน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของ ผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามความคิดเห็นของครู พบว่า แตกต่างกัน อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ




ผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับความพึงพอใจ 
ในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม


อัชยา คิสาลัง

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม  2)เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม 3) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม ที่มีประสบการณ์ต่างกัน 4) เพื่อศึกษาระหว่าง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม 5) หาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหาร และครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนมทั้ง 6 โรงเรียน ปีการศึกษา 2552 จำนวน 195 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหาร และครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จำนวน 130 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 36 คน และครู 94 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.32–0.79 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยรวมและ รายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนครูมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ความคิดเห็นระหว่าง ผู้บริหารกับครูต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโดยรวมแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และต่อความ พึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) เมื่อพิจารณาตามประสบการณ์ การปฏิบัติงานปรากฏว่าภาวะผู้นำโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการ ปฏิบัติงานของครูโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) การวิจัยครั้งนี้ ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการมุ่งความสัมพันธ์เป็นรายบุคคล ด้านการสร้างและการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ และด้านการคาดหวังต่อผลงานสูง




วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

โปรแกรมสืบค้นข้อมูล


Alice for Windows

การสืบค้นข้อมูลโปรแกรมทรัพยากรสารสนเทศโปรแแกรมห้องสมุด 

     ระบบซอฟต์แวร์บริหารห้องสมุด Alice for Windows รุ่นล่าสุดเป็นซอฟต์แวร์ Client Server ซึ่งทำงานบน
  เครือข่ายเฉพาะถิ่น (LAN) ที่ใช้เทคโนโลยีขนาด 32 Bit และสามารถเก็บข้อมูล Multimedia รวมไปถึงการทำงาน
  ผ่าน Internet ได้ 
     เครื่องแม่ข่ายจะใช้ระบบปฏิบัติการ NT และเครื่องลูกข่ายจะเป็น PC วิ่งบน Windows 95 หรือ MAC ก็ได้ ซอฟต์แวร์ Alice for Windows สามารถปรับข้อมูลหรือแสดงผลเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ 
คุณสมบัติของ Alice for Windows
     1.  สามารถใช้ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีมาตรฐานกับผู้ใช้ของ Microsoft Windows 95 หรือ 97 ได้รับการประเมิณว่าไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ระบบภาษาไทยก็สามารถปรับเปลี่ยนหน้าจอจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทโดยบรรณารักษ์และสามารถจัดเรียงข้อมูลตามแบบพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตสถานตลอดจนสามารถรับข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้
     2.  ให้ลิขสิทธิ์การใช้งานชนิดไม่จำกัดจำนวนผู้ใช้ เนื่องจากการใช้งานในลักษณะระบบห้องสมุดอัตโนมัติ            มีจุดประสงค์ที่สนับสนุนให้เกิดการค้นคว้าอย่างกว้างขวาง 
     3.   มีฐานข้อมูลโดยเฉพาะกับงานห้องสมุด (Library Database) มีฐานข้อมูล (Custom Design Database) พร้อมกับส่วนการบริหารข้อมูล (System Administration Facilities) สำหรับงานห้องสมุดโดยเฉพาะ ทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่ามีฐานข้อมูลที่เหมาะสมกับงานและสามารถบริหารจัดการระบบได้เอง
การทำงานและองค์ประกอบของระบบ
     1.  พิมพ์ข้อมูลที่ต้องการสืบค้น จะระบุเป็นชื่อหนังสือ ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ชื่อผู้แต่ง หัวข้อ ชื่อสำนักพิมพ์              เลขเรียกหนังสือ ได้ทั้งหมด ถ้าข้อมูลไม่ครบถ้วนก็สามารถทำการสืบค้นได้ เมื่อระบุข้อมูลที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว     ให้กดปุ่ม Enter หรือ    เช่น แฮร์รี่พอตเตอร์
     2.  หน้าจอจะแสดงแถบสีที่ตรงกับคำค้นหรือใกล้เคียงกับคำค้นมากที่สุด คลิกที่
  เพื่อเรียกดูรายละเอียด
  เกี่ยวกับข้อมูลที่สืบค้น หรือเรียกดูรายการของโสตทัศนวัสดุ

      3.  หน้าจอจะแสดงรายละเอียดของโสตทัศนวัสดุที่สืบค้น เช่น ชื่อเรื่อง สำนักพิมพ์ เลขหนังสือ เป็นต้น

     
     4.  คลิกที่ เพื่อเรียกดูเลขทะเบียนของโสตทัศนวัสดุ และตรวจสอบสถานะการยืมของ
  โสตทัศนวัสดุ


     5. เมื่อตรวจสอบแล้วว่าไม่มีการยืม ผู้ใช้สามารถหาโสตทัศนวัสดุเพื่อทำการยืมได้ที่เจ้าหน้าที่ห้องสมุด 

     สุดท้ายประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ Alice for Windows จะเกิดความสะดวกในการสืบค้นแก่ผู้ใช้บริการและหาสิ่งที่ต้องการในห้องสมุดได้รวดเร็วขึ้น ส่วนผู้ให้บริการก็สามารถจัดระบบในห้องสมุดได้ง่ายขึ้นอีกด้วย



วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ผลงานของนายสรวิศ เสริมพล

นายสรวิศ  เสริมพล
นักศึกษาปริญญาโท การบริหารการศึกษา
รุ่นที่ 4 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี
--- วันที่ 12 พฤษภาคม 2561 ---