วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

รายชื่อวิทยานิพนธ์

Title
ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร
Title Alternative
Motivation factors affecting academic affairs performance among the school administrators under the jurisdiction ofthe office of samutsakhon provincial primary education

Organization : โรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร
Subject
Classification :.DDC: 372.120111
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับปัจจัยแรงจูงใจในการบริหารงานวิชาการและระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร (2) วิเคราะห์ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามทฤษฎี E.R.G. ของอัลเดอเฟอร์ (Alderfer,s existence relatedness growth theory) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานวิชาการและปัจจัยแรงจูงใจในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสาครในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นเดียวกัน 2. ปัจจัยแรงจูงใจในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ด้านความต้องการความก้าวหน้าและด้านความต้องการความสัมพันธ์ ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการโดยภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยมีน้ำหนักความสำคัญในรูปคะแนนมาตรฐานของปัจจัยแรงจูงใจ ด้านความต้องการความก้าวหน้าสูงสุด รองลงมาคือ ปัจจัยแรงจูงใจด้านความต้องการความสัมพันธ์ The purposes of this study were 1) to study the levels of the motivation factors affecting school administrators’ academic affairs performance and their academic affairs performance among the administrators of the schools under the jurisdiction of the Office of Samutsakhon Provincial Primary Education, and 2) to analyze the motivation factors affecting the school administrators’ academic affairs performance. The population are the administrators from 107 primary schools under the jurisdiction of the Office of Samutsakhon Provincial Primary Education. The research instrument was a constructed questionnaire, based on Alderfer’s existence relatedness growth theory, to investigate the motivation factors affecting the samples’ academic performance. The statistics used for the data analyses were arithmetic mean ( ), standard deviations (S.D.), and stepwise multiple regression analysis. The results were: 1) There were high levels of motivation factors affecting the school administrators’ academic affairs performance and their academic affairs performance. When considered individually, the school administrators’ motivation factors and their academic affairs performance were found at high levels in all aspects. 2) The analyses of the motivation factors showed that the school administrators’ needs for career progress and relation with connected people significantly affected their academic performance at .05 levels. The first weighed factor was the need for career progress, and the second weighed factor was the need for relation with connected people.

Title
ปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี
Title Alternative
FACTORS OF SCHOOL ADMINISTRATORS' LEADERSHIP AFFECTING JOB PERFORMANCE ACCORDING IN TO RELATIONSHIP BETWEEN SCHOOLS AND COMMUNITIES IN SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF SUPHAN BURI PROVINCIAL PRIMARY EDUCATION

Organization : โรงเรียนวัดคีรีเจริญผล จ.สุพรรณบุรี
Classification :.DDC: 371.2
Description
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหาร โรงเรียน เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของผู้บริหารโรงเรียน เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนระหว่างโรงเรียน ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เพื่อเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ระหว่างโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ และวิเคราะห์ปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมี 6 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านสติปัญญา ด้านบุคลิกภาพ ด้านความรับผิดชอบ ด้านฐานะสังคม และด้านการตัดสินใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ในโรงเรียนประถมศึกษารวม 414 คน จำแนกเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ 79 คน โรงเรียนขนาดกลาง 194 คน และโรงเรียนขนาดเล็ก 141 คน ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี ปีการศึกษา 2546 กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตามระดับชั้นอย่างเป็น สัดส่วนตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับประกอบด้วย คุณลักษณะความเป็นผู้นำซึ่งพัฒนาจากแนวคิดของ สต็อกดิลล์ จำนวน 30 ข้อ และ การปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ตามกรอบสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน 30 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับรวมเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ (frequencies) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณโดยวิธีแบบขั้นตอน (stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและเป็นรายด้าน และระดับคุณลักษณะความเป็น ผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน ได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่ไม่แตกต่างกัน 2. ระดับการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน ยกเว้น งานด้านการจัดตั้งกลุ่ม ชมรม สมาคม และมูลนิธิ อยู่ในระดับปานกลาง และระดับการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของผู้บริหารโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3. ปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวม คือ ด้านการตัดสินใจ และ ด้านฐานะทางสังคม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านการให้บริการชุมชนด้านต่าง ๆ และ งานด้านการได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากชุมชน คือ ด้านการตัดสินใจ และบุคลิกภาพ ส่วนปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านเกี่ยวกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน งานด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานอื่น งานจัดตั้งกลุ่ม ชมรม สมาคม และมูลนิธิ และงานด้านการประชาสัมพันธ์ คือ ด้านการตัดสินใจ และฐานะทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Title
การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษตามความคิดเห็นของครู
Title Alternative
A STUDY OF DESIRABLE CHARACTERISTICS OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE BUREAU OF SPECIAL EDUCATION ADMINISTRATION AS PERCEIVED BY TEACHERS

Organization : ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 6 จ.ลพบุรี
Subject
Classification :.DDC: 373.11
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณลักษณะในสภาพปัจจุบัน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามความคิดเห็นของครู จำนวน 333 คน โดยในโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และ โรงเรียนที่สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นอย่างเป็น สัดส่วน ส่วนในโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น และโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย (แขน-ขา) ใช้ครูทุกคนเป็นผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิดกำหนดค่าคำตอบเป็นข้อความ 5 ระดับ จำนวน 78 ข้อ โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t – test ผลการวิจัย พบว่า คุณลักษณะในสภาพปัจจุบันของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามความคิดเห็นของครู อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับ คือ ด้านส่วนตัวและครอบครัว ด้านวิชาการ ด้านปฏิบัติงานการศึกษาพิเศษ ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร ด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านภาวะผู้นำ และด้านมนุษยสัมพันธ์ ส่วนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงตามลำดับ คือ ด้านส่วนตัวและครอบครัว ด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านปฏิบัติงานการศึกษาพิเศษ ด้านวิชาการ ด้านภาวะผู้นำ ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร และด้านมนุษยสัมพันธ์ ส่วนผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะในสภาพปัจจุบัน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของ ผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามความคิดเห็นของครู พบว่า แตกต่างกัน อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น